เมนู

พรรษาไม่ครบ 5 บำเพ็ญวัตรปฏิบัติ ทำมาติกาทั้งสองให้คล่องแคล่วแล้ว
เรียนกรรมและมิใช่กรรม สะสางให้หายรกจนถึงพระอรหัต ถือกัมมัฏฐาน
ไปอยู่ป่า เริ่มการงานในปฐวีกสิณเป็นต้น. บุคคลนั้นอาศัยกัมมัฏฐาน
ก็เกิดปีติที่มีกำลังอ่อนๆ เขาอาศัยปีตินั้น ก็เกิดปราโมทย์ ปราโมทย์นั้น
ก็เป็นปัจจัยแก่ปีติที่มีกำลัง. ปีติที่มีกำลัง ก็เป็นปัจจัยแก่ปัสสัทธิ ระงับ
ความกระวนกระวาย. ปัสสัทธินั้น ก็เป็นปัจจัยแก่สุขส่วนเบื้องต้นแห่ง
อัปปนาสมาธิ สุขนั้นก็เป็นปัจจัยแก่สมาธิที่มีฌานเป็นบาท. บุคคลนั้น
ทำสุขนั้นที่พรั่งพร้อมให้เกิดด้วยสมาธิ ก็ทำการงานด้วยวิปัสสนาอย่าง
อ่อน. สมาธิที่มีฌานเป็นบาทของเขา ก็เป็นปัจจัยแก่วิปัสสนาที่มีกำลัง
อ่อน. วิปัสสนาที่มีกำลังอ่อน ก็เป็นปัจจัยแก่วิปัสสนาที่มีกำลัง. วิปัสสนา
ที่มีกำลัง ก็เป็นปัจจัยแก่มรรค. มรรคก็เป็นปัจจัยแก่ผลวิมุตติ. ผลวิมุตติ
ก็เป็นปัจจัยแก่ปัจจเวกขณญาณ. พึงทราบว่า เวลาที่พระขีณาสพ ทำสาคร
คือวิมุตติให้เต็มแล้วดำรงอยู่ ก็เหมือนเวลาที่ฝนทำสาครให้เต็มโดยลำดับ
ตั้งอยู่ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาอุปนิสสูตรที่ 3

4. อัญญติตถิยสูตร



ว่าด้วยทุกข์ในวาทะ 4



[71] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันกลันทกนิวาป-
สถาน กรุงราชคฤห์.
ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว
ถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาต ครั้งนั้นแล ท่าน
พระสารีบุตรได้มีความคิดดังนี้ว่า เวลานี้ยังเช้าเกินไปที่จะเที่ยวบิณฑบาต

ในกรุงราชคฤห์ อย่ากระนั้นเลย เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกปริพาชก
อัญญเดียรถีย์เถิด ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เข้าไปยังอารามของ
พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ครั้นแล้วได้สนทนาปราศรัยกับปริพาชกอัญญ-
เดียรถีย์เหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[72] ท่านพระสารีบุตรพอนั่งเรียบร้อยแล้ว พวกปริพาชก
อัญญเดียรถีย์ได้กล่าวกะท่านดังนี้ว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร มีสมณพราหมณ์
พวกหนึ่งผู้กล่วกรรม ย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ผู้อื่นทำให้ มีสมณะพราหมณ์พวก
หนึ่งผู้กล่าวกรรม ย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ผู้อื่นทำให้ มีสมณพราหมณ์พวก
หนึ่งผู้กล่าวกรรม ย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย
อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรม ย่อมบัญญัติว่า ทุกข์เกิด
ขึ้นเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำ ดูก่อนท่าน
สารีบุตร ก็ในวาทะทั้ง 4 นี้ พระสมณโคดมกล่าวไว้อย่างไร บอกไว้
อย่างไร พวกข้าพเจ้าพยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระ-
สมณโคดม
กล่าวแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระสมณโคดมด้วยคำไม่จริง และ
พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไร ๆ จะไม่
พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะพึงติเตียนได้.
[73] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย พระผู้มี
พระภาคเจ้า
ตรัสว่า ทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยอะไร
เกิดขึ้น ทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นผู้
กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะ

ที่ถูกไร ๆ ก็จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้ ดูก่อนท่านทั้งหลาย
ในวาทะทั้ง 4 นั้น แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรม
บัญญัติว่า ตนทำเอง ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวก
สมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ผู้อื่นทำให้ ก็ย่อมเกิดเพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตน
ทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่
พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า เกิดเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่
ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดูก่อน
ท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง 4 นั้น พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าว
กรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้
มิใช่ฐานะที่จะมีได้ แม้พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า
ทุกข์ผู้อื่นทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะ
มีได้ แม่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง
ด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะ
ที่จะมีได้ ถึงพวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์เกิดเอง
เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ เว้นผัสสะเสีย
เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะจะมีได้ ดังนี้.
[74] ท่านพระอานนท์ได้ยินท่านพระสารีบุตรสนทนาปราศรัย
กับพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นแล้ว ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์
เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ในกาลภายหลังภัตกลับจากบิณฑบาต
แล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลถ้อยคำสนทนาของท่านพระสารี-

บุตรกับพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ซึ่งได้มีมาแล้วทั้งหมดแด่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า.

[75] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ๆ อานนท์ ตามที่
สารีบุตรพยากรณ์ ชื่อว่าพยากรณ์โดยชอบ ดูก่อนอานนท์ เรากล่าวว่า
ทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยผัสสะ
เกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่เรากล่าวแล้ว
ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการ
คล้อยตามวาทะที่ถูกไร ๆ ก็จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้
ดูก่อนอานนท์ ในวาทะทั้ง 4 นั้น ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้
กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเอง ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์
ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ผู้อื่นทำให้ ก็ย่อมเกิด
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า
ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์
ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า เกิดเอง เพราะอาศัยการที่
มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อมเกิด เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ดูก่อนอานนท์ ในวาทะทั้ง 4 นั้น พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าว
กรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ ดังนี้
มิใช่ฐานะที่จะมีได้ แม้พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า
ทุกข์ผู้อื่นทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะ
มีได้ แม้พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง
ด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะ
ที่จะมีได้ ถึงพวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์เกิดเอง

เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำ เว้นผัสสะเสีย เขา
ย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้.
[76] ดูก่อนอานนท์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่เวฬุวันกลันทกนิวาป-
สถาน
ใกล้กรุงราชคฤห์นี้แหละ ครั้งนั้นแล อานนท์ ในเวลาเช้า
เรานุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต ดูก่อน
อานนท์ เรานั้นได้คิดดังนี้ว่า เวลานี้ยังเช้าเกินไปที่จะเที่ยวบิณฑบาต
ในกรุงราชคฤห์ อย่ากระนั้นเลย เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกปริพาชก
อัญญเดียรถีย์เถิด ครั้งนั้นแล อานนท์ เราได้เข้าไปยังอารามของพวกปริ-
พาชกอัญญเดียรถีย์ ครั้งนั้นแล้ว ได้สนทนาปราศรัยกับปริพาชกอัญญ-
เดียรถีย์เหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง ดูก่อนอานนท์ พอเรานั่งเรียบร้อยแล้ว พวกปริพาชก
อัญญเดียรถีย์เหล่านั้นได้กล่าวกะเราดังนี้ว่า ท่านพระโคดม มีสมณ-
พราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง อนึ่ง
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ผู้อื่นทำให้
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง
ด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้กล่าวกรรม
ย่อมบัญญัติว่า ทุกข์เกิดเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้
อื่นกระทำ ในวาทะทั้ง 4 นี้ ท่านพระโคดมกล่าวไว้อย่างไร บอกไว้
อย่างไร ข้าพเจ้าทั้งหลายพยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่
ท่านพระโคดมกล่าวแล้ว จะไม่กล่าวตู่ท่านพระโคดมด้วยคำไม่จริง และ
พึงพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไร ๆ จะ
ไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้ ดูก่อนอานนท์ เมื่อพวกปริพาชก

อัญญเดียรถีย์เหล่านั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ เราได้กล่าวกะพวกปริพาชกอัญญ-
เดียรถีย์เหล่านั้นดังนี้ว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย เรากล่าวว่าทุกข์เป็นของอาศัย
เหตุเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นผู้
กล่าวตามที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรม
สมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไร ๆ ก็จะไม่พึงถึงฐานะอัน
วิญญูชนจะติเตียนได้ ดูก่อนท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง 4 นั้น แม้ทุกข์ที่
พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเอง ก็ย่อมเกิด
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรม
บัญญัติว่า ผู้อื่นทำให้ ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวก
สมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า คนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย ก็
ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรม
บัญญัติว่า เกิดเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำ
ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดูก่อนท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง 4 นั้น พวก
สมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง เว้นผัสสะเสีย
เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้
กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ผู้อื่นทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์
ดังนี้ ก็มิใช้ฐานะที่จะมีได้ แม้พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรม
บัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวย
ทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ถึงพวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรม
บัญญัติว่า ทุกข์เกิดเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่น
กระทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้.
[77] ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่

เคยมี พระเจ้าข้า ในการที่เนื้อความทั้งหมดจักเป็นอรรถอันพระองค์ตรัส
แล้วด้วยบท ๆเดียว เนื้อความนี้ เมื่อกล่าวโดยพิสดารจะเป็นอรรถอันลึก
ซึ้งด้วย เป็นอรรถมีกระแสความอันลึกซึ้งด้วย พึงมีไหมหนอ พระเจ้าข้า.
ดูก่อนอานนท์ ถ้ากระนั้นเนื้อความในเรื่องนี้จงแจ่มแจ้งกะเธอเองเถิด.
[78] ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่า
ชนเหล่าอื่นจะพึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ชราและมรณะ
อะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดน
เกิด ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ชราและมรณะมีชาติเป็นเหตุ มีชาติเป็นที่ตั้งขึ้น มี
ชาติเป็นกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่า
อื่นพึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ก็ชาติเล่า มีอะไรเป็น
เหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้
ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย
ชาติมีภพเป็นเหตุ มีภพเป็นที่ตั้งขึ้น มีภพเป็นกำเนิด มีภพเป็นแดนเกิด
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่าอื่นพึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท่าน
อานนท์ ก็ภพเล่ามีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์
อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย ภพมีอุปาทานเป็นเหตุ มีอุปทานเป็นที่
ตั้งขึ้น มีอุปาทานเป็นกำเนิด มีอุปาทานเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่าอื่นพึงถามข้าพระองค์อย่างนั้นว่า ท่าน
อานนท์ ก็อุปาทานเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็น
กำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึง

พยากรณ์อย่างนี้ว่า อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นที่ตั้งขึ้น
มีตัณหาเป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ถ้าว่าชนเหล่าอื่นพึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ก็ตัณหาเล่า
มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดน
เกิด ดังนี้ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ตัณหา
มีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นที่ตั้งขึ้น มีเวทนาเป็นกำเนิด มีเวทนาเป็น
แดนเกิด ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่าอื่นพึงถามข้าพระ-
องค์อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ก็เวทนาเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น
ที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าพระองค์
ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย เวทนามี
ผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นที่ตั้งขึ้น มีผัสสะเป็นกำเนิด มีผัสสะเป็นแดน
เกิด ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่าอื่นพึงถามข้าพระองค์ว่า
ท่านอานนท์ ก็ผัสสะเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไร
เป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้
แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย ผัสสะมีสฬายตนะเป็น
เหตุ มีสฬายตนะเป็นที่ตั้งขึ้น มีสฬายตนะเป็นกำเนิด มีสฬายตนะเป็น
แดนเกิด ดูก่อนท่านทั้งหลาย ก็เพราะผัสสายตนะ 6 นั่นแหละดับด้วย
สำรอกโดยไม่เหลือ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะ
เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปา-
ทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและ
มรณะโสกปริเทวทุกขโทนนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์

ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
ถูกถามแล้วอย่างนี้ พึงพยากรณ์อย่างนี้ ดังนี้แล.
จบอัญญติตถิยสูตรที่ 4

อรรถกถาอัญญติตถิยสูตรที่ 4



พึงทราบวินิจฉัยในอัญญติตถิยสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้.
บทว่า ปาวิสิ แปลว่า เข้าไปแล้ว. ก็ท่านพระสารีบุตรนั้นเข้า
ไปแล้วก่อน. แต่ท่านกล่าวอย่างนี้ ก็เพราะท่านพระสารีบุตรออกไปแล้ว
ด้วยคิดว่า จักเข้าไป. ถามว่า เหมือนอะไร. เหมือนบุรุษผู้ออกไปแล้ว ด้วย
คิดว่าจักไปบ้าน แม้ยังไม่ถึงบ้าน เมื่อเขาถามว่า ผู้มีชื่อนี้ไปไหน ก็ตอบว่า
ไปบ้าน ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น. บทว่า อติปฺปโค ความว่า ได้ยินว่า ใน
ครั้งนั้น วันที่ออกไปยังเช้านักสำหรับพระเถระ. เหล่าภิกษุที่ออกไปเวลา
เช้าตรู่ ย่อมจะชักช้าอยู่จนถึงเวลาภิกขาจาร ในสถานที่เหล่านี้คือ ที่ลาน
ต้นโพธิ์ ที่ลานพระเจดีย์ ที่ครองผ้าเป็นประจำ. แต่พระเถระคิดว่า
เราจักทำการพูดจาคำสองคำกับพวกปริพาชก จนกว่าจะถึงเวลาภิกขาจาร
จึงได้ดำริว่า ยนฺนูนาหํ ถ้ากระไรเรา เป็นต้น. บทว่า ปริพฺพาชกานํ
อาราโม
ความว่า เขาว่า อารามนั้น อยู่ระหว่างประตูด้านใต้ กับ
พระเวฬุวัน. บทว่า อิธ ได้แก่ในฐานะ 4 เหล่านี้. บทว่า กึวาที
กิมกฺขาย
ี ได้แก่ [พระสมณโคดม] ห้ามอะไร บอกอะไร. พระ-
เถระถามว่า พวกปริพาชกจักให้อะไรในข้อนี้แก่พระสมณโคดม. บทว่า
ธมฺมสฺส จานุธมฺมํ พฺยากเรยฺยาม ความว่า ท่านพระโคดมตรัสเหตุ
อันใด พวกเราพึงกล่าวเหตุตามสมควรแก่เหตุอันนั้น. บทว่า สหธมฺมิโก